wellcome to MY BLOG


ระเบียบข้อบังคับการฝึกประสบการณวิชาชีพ
ระเบียบการฝึกประสบการวิชาชีพ
1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
4. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่าง
6. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่ โรงเรียนจัดไว้ให้7. การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจาก อาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่าย ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
10. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
11.นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12. นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่าง เป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15. ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดี ขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น


ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง

1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู
2. เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัด ตรามหาวิทยาลัย
3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใดๆทั้งสิ้น
4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า
5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น
6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึก สอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์

ประวัติโรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา)
โรงเรียนนี้เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลจอมบึง (วัดจอมบึง) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๓ โดยมีนายผิน เพียรศิริ ปลัดกิ่งอำเภอ และนายบุญเพ็ง พุฒิเครือ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอประจำกิ่งอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง มีนายหรีด ทองลิ่ม เป็นครูใหญ่ และนายยุ้ย พงษ์ทวี เป็นครูผู้สอน สภาพโรงเรียนเป็นอาคารชั่วคราว เสาไม้จริง เครื่องบนไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ อยู่ ๑๐ ปี อาคารเรียนก็ชำรุดทรุดโทรมลง
ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เจ้าอธิการคูณ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้น นายหรีด ทองลิ่มครูใหญ่ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเพื่อขอใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านพระครูวาปีวรคุณ(คูณ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดจอมบึง ได้สร้างโรงเรียนถาวร โดยได้ขอความร่วมมือจากประชาชน พระภิกษุ สามเณร จัดหาอุปกรณ์ในการก่อสร้างใช้งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) มีนายภมร ศิริเอก เป็นครูใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ช. ให้มาสมทบทุนในการสร้าง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๗ สร้างตามแปลนของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาคารใต้ถุนสูงขนาด ๙ เมตร ยาว ๔๕ เมตร ขนาดกว้าง ๖ x ๙ ตารางเมตร ๗ ห้องเรียน มีมุขกลาง การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๙๗ แต่ชั้นล่างยังไม่ได้เทคอนกรีต จึงของบประมาณจากทางราชการสมทบอีก ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ได้ทาสีและเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง ขณะนั้นมี นายประสาท อึ้งโพธิ์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๙ เปิดทำการสอนชั้น ป.๑-๔ มีแปดห้องเรียน มีครู ๘ คนวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ได้เปิดการสอนชั้นเด็กเล็ก ได้ขออนุญาตใช้ห้องเรียน และส่งนักศึกษาฝึกสอนมาช่วยสอน
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โรงเรียนร่วมกับวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ได้สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง งบประมาณ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน ๒๗๐,๐๐๐ บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ ขนาด ๙ เมตร ยาว ๓๓ เมตร ๔ ห้องเรียน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้น ป. ๔ มี ๑๘ ห้องเรียน ครู ๑๘ คน มีนักเรียน ๕๕๐ คน นายประสาท อรรถกรศิริโพธิ์ เป็นครูใหญ่ได้ไปรักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอ จึงแต่งตั้ง นายสหัส ทองลิ่ม ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นายศิริ ไอยราพัฒนา ได้บริจาคเงินร่วมกับเงินบริจาคติดตั้งน้ำประปาบาดาลในโรงเรียน โดยใช้งบประมาณ ๓,๒๖๗ บาท (สามพันสองร้อยหกสิบเจ็ดบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนแบบกระทรวงศึกษาธิการหลังเดิมงบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซ่อมแซมหลังคาและเพดาน
- ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)๒ ตุลาคม ๒๕๑๕ นายประสาท อรรถกรศิริโพธิ์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ นายนิวัติ สุขสมบูรณ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ ได้ประชุมวางแผนการบริหารร่วมกับคณะครู และกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนางานการศึกษาให้ก้าวหน้าขึ้น เปิดทำการสอน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้น ป. ๖
ได้ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียนต่าง ๆ ดังนี้
๑. ห้องเรียนระดับก่อนประถม ๕ ห้องเรียน เป็นเงิน ๕๔,๐๐๐ บาท
๒. ห้องสมุดขยายเป็นห้องสมุดใหญ่ เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท
๓. ห้องสหกรณ์จัดให้ครบวงจร เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
๔. ห้องประชาธิปไตย เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๕. ห้องภาษาไทย เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
๖. ห้องภาษาอังกฤษ เป็นเงิน ๘,๐๐๐ บาท
ปี ๒๕๓๗
๑. ร่วมกับคณะครู ประชาชน กรรมการศึกษา สร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียนด้านหน้า เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นเงิน ๔๕,๘๕๕ บาท
๒. สร้างโรงรถสำหรับจอดรถของคณะครูและนักเรียน จำนวน ๖ ที่ เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาทปี
พ.ศ. ๒๕๓๘
๑. สร้างรั้วถาวรด้านหน้าโรงเรียน และป้ายชื่อ เป็นเงิน ๘๗,๕๐๐ บาท
๒. สร้างส้วมสำหรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา ๑ หลัง เป็นเงิน ๘,๕๐๐ บาท
๓. สร้างอุปกรณ์เครื่องเล่นสำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษา เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
๔. สร้างเตาเผาขยะ เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙
สร้างถังเก็บน้ำฝน ๒ ที่ เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท
- วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๙ นางสาวฉัตรมณี จันทรวงษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
- ได้ดำเนินการขออนุญาตรื้อถอนอาคารห้องสมุดประชาชน และนำอุปกรณ์มาต่อเติมโรงอาหารเพิ่ม ๑ หลัง งบประมาณ ๑๔,๕๐๐ บาท
-ได้จัดหาโทรทัศน์และเครื่องเสียง เพื่อให้เป็นอุปกรณ์การศึกษา เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาทปี
พ.ศ. ๒๕๔๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ โรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ได้รับงบประมาณ จาก สปช.(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ) ให้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ๓ ห้อง ได้แก่ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา พร้อมอุปกรณ์ครบถ้วนทุกห้อง เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้ก้าวหน้าและทันสมัย
-ได้รับเงินงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) จำนวน ๑,๗๗๗,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) สร้างอาคารแบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ จำนวน ๕ ห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๐ -ได้งบประมาณในการปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ได้ทาสีอาคารเรียน ๒ หลัง อาคารเอนกประสงค์ โรงอาหาร และส้วม
ปี พ.ศ. ๒๕๔๑
- ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองของนักเรียน ในการจัดสร้างอุปกรณ์เครื่องเล่นของนักเรียนระดับอนุบาล เป็นเงิน ๑๒,๘๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
- ได้รับคัดเลือกจาก สปจ.ราชบุรี ให้เป็นโรงเรียนนำร่องการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ของอำเภอจอมบึง ซึ่งมีทั้งหมด ๗ โรงเรียน
- ได้รับคัดเลือกจาก สปจ.ราชบุรี ให้เป็นโรงเรียนแกนนำการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้-ได้รับการคัดเลือกจากอำเภอให้เป็นตัวแทนในการรับการประเมินโรงเรียนโครงการป้ายทอง ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
-ได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมบันไดอาคารเรียนแบบกระทรวงศึกษาธิการ หลังที่ ๑ ทั้งสองด้าน เป็นเงิน ๓๕,๕๐๐ บาท (สามหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓
ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
- ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากโครงการพัฒนาจังหวัด ทำถนนราดยางบริเวณด้านหน้าโรงเรียนเป็นเงิน ๒๓๘,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นแปดพันบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓ (ขนาด ๖ x ๒๐๐ เมตร)
-ได้รับการประเมินโรงเรียนแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้
-ได้รับการประเมินครูมาตรฐาน จำนวน ๓ คน
- คณะครูผ่านการประเมินครูปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ๗ คน
- โรงเรียนได้รับการประเมินมาตรฐานครั้งที่ ๑ ช่วงเดือน สิงหาคม
- ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ นายเฉลิม เทพสวัสดิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนที่ 5 ที่โรงเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔
-ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕ / ๒๙ จำนวน ๓ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒๔๓,๐๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นสามพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
-ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) รอบแรก
- ได้รับการประเมินเป็น โรงเรียนคุณภาพ ๕ ดาว ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.)
- ได้รับรางวัลโรงเรียน ป้ายทองรับรองคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานระดับจังหวัด ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
- ได้รับการประเมินโรงเรียนดีเด่นโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนคุณภาพ”
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖
- ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข- ได้รับประกาศนียบัตร “โรงเรียนโรงอาหารได้มาตรฐานการสุขาภิบาล อาหารระดับ ดีมาก” และป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย”(Clean Food Good Taste)ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
- เป็นโรงเรียนนำร่อง “โครงการคนดีศรีเมืองราช” ตามโครงการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (คนดีศรีเมืองราช) จังหวัดราชบุรี
- ได้รับงบประมาณซ่อมแซมเปลี่ยนฝ้าเพดานอาคารเรียน ๑ งบประมาณ 320,000 บาทปี พ.ศ. ๒๕๔๘ -คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครองและชุมชนร่วมกันซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน ๒ ไร่ ราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) รวมเป็นที่ดินทั้งหมด ๘ ไร่ ๑ งาน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
- รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)(สมศ.) รอบสอง ผลการประเมินผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาทั้ง ๑๔ มาตรฐาน ๖๒ ตัวบ่งชี้ ผ่านระดับดี และดีเยี่ยม ทั้งระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา ยกเว้นมาตรฐานที่ 9 ได้ระดับ พอใช้ปี พ.ศ. ๒๕๕๐
- ได้รับคัดเลือกผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนในโครงการ “๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) รุ่นที่ ๒ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑- ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑
- ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM) ดีเด่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑
- คณะครูและชุมชนร่วมบริจาคสร้างรั้วด้านทิศตะวันตก สิ้นงบประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
-ปรับปรุงโรงอาหาร ปูพื้นกระเบื้องห้องส้วมทุกหลัง จัดทำร่องระบายน้ำรอบ ๆ โรงเรียน และสร้างที่ปัสสาวะชายพร้อมอ่างล้างมือในโรงเรียนสิ้นงบประมาณจากการบริจาคทั้งสิ้นประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ.๒๕๕๑
-ปูพื้นกระเบื้อง ต่อเติมโรงอาหาร สร้างโต๊ะรับประทานอาหาร สร้างโรงเก็บของ และเทคอนกรีตเสริมเหล็กลานจอดรถ โดยใช้งบประมาณจากเงินอุดหนุนและเงินบริจาค สิ้นงบประมาณทั้งสิ้น ๓๐๔,๓๘๙ บาท (สามแสนสี่พันสามร้อยแปดสิบเก้าบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๒/๒๘ จำนวน ๓ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน งบประมาณ ๙,๑๔๐,๐๐๐ บาท (เก้าล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) โดยมีห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอส ซีวิล แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ -ได้รับการประเมินเพื่อก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
-ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (CL๑๐) จำนวน ๑๒ ชุด เป็นเงิน ๓๑๘,๐๐๐ บาท
-ดำเนินการปรับปรุงอาคารเรียน ๑ เป็นห้องประชุม ห้อง ICT ห้องสหกรณ์ และห้องพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน นิทรรศการถาวร สิ้นงบประมาณ ๔๕๐,๘๔๑ บาท (สี่แสนห้าหมื่นแปดร้อยสี่สิบเอ็ดบาทถ้วน)
-เป็นโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมรักการอ่านของ สพท.รบ.๑ -ปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และพัฒนาให้สวยงาม มีอุปกรณ์ครบครันน่าเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒
-ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) รุ่นที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒